ดอกโบตั๋น
เชื่อว่าใครที่ติดตามดูละครเรื่องกี่เพ้า คงจะเห็นดอกไม้ชนิดหนึ่งที่เจ้าหมิงเทียน พระเอกของเรื่องมอบให้แก่เมย์ลี เป็นดอกไม้สีชมพูที่มีรูปร่างลักษณะที่เราไม่ค่อยได้เห็นกันโดยทั่วไป แต่ก็มีความสวยงาม น่าหลงใหล ดึงดูดใจให้คนที่มองชื่นชอบในเจ้าดอกนี้ยิ่งนัก และหลายคนอาจคิดไปว่า ดอกดังกล่าวนั้นมีแต่เพียงในวรรณคดีจีนเท่านั้น ทว่าดอกไม้ที่ว่านี้มีอยู่จริง และมีชื่อเรียกว่า "ดอกโบตั๋น" ...ว่าแล้ววันนี้ เราก็ขอพาเพื่อน ๆ มารู้จักกับดอกไม้สวย ๆ ดอกนี้กันค่ะ ใครที่ชอบดอกโบตั๋น ตามมาเลยจ้า
ลักษณะทั่วไป
โบตั๋น เป็นไม้ดอกสกุล Paeonia ซึ่งเป็นสกุลเดียว ในวงศ์ Paeoniaceae เป็นพืชพื้นเมืองของเอเชีย, ตอนใต้ของยุโรป และตะวันตกของอเมริกาเหนือ ในอดีต โบตั๋นมักถูกจัดอยู่ในวงศ์ Ranunculaceae โดยพืชสกุลโบตั๋นส่วนใหญ่เป็นไม้ล้มลุกหลายปี สูงประมาณ 0.5–1.5 เมตร บางชนิดเป็นพุ่ม ลำต้นมีเนื้อไม้ สูง 1.5-3 เมตร ลักษณะของใบเป็นใบประกอบ มีแฉกลึก ดอกใหญ่ และมักมีกลิ่นหอม มีหลายสี ตั้งแต่ แดง บานเย็น เหลือง จนถึงขาว มักออกดอกในช่วงต้นฤดูร้อน
ตำนานและชื่อเรียกในภาษาต่าง ๆ
สำหรับชื่อ "โบตั๋น" ในภาษาไทยนั้น มาจากชื่อดอกไม้นี้ในภาษาญี่ปุ่นว่า "โบะตัง" แต่บางคนก็ว่า มาจากชื่อในภาษาจีนว่า "หมู่ตัน" ส่วนในภาษาอังกฤษเรียกว่า "peony" โดยมีตำนานเล่าว่า ตั้งตามชื่อของไพอัน (Paean) ศิษย์คนหนึ่งของเอสเคลปิอัส เทพเจ้าแห่งการแพทย์ของกรีกโบราณ ต่อมาเอสเคลปิอัสอิจฉาลูกศิษย์ของตน เทพเซอุสช่วยไพอันให้พ้นภัยโดยสาปให้กลายร่างเป็นดอกโบตั๋น
ในสมัยโบราณ ดอกโบตั๋นเป็นที่นิยมเพาะเลี้ยงกันในหมู่ชนชั้นสูง ซึ่งบางครั้งราคาประมูลขายกันแพงมาก จนสุดยอดกวีราชวงศ์ถังท่านหนึ่ง ชื่อ ไป๋จวีอี้ กล่าวไว้ว่า "อี้ฉงเซินเซ่อฮวา สือฮุจงเหรินฝู้" ซึ่งหมายความว่า โบตั๋นเพียงไม่กี่ดอกยังมีมูลค่ามากกว่าเงินภาษีของชนชั้นกลางสิบคนเสียอีก
ทั้งนี้ มีเรื่องเล่ากันว่าสมัยพระนางบูเช็คเทียน พระองค์เคยโปรดดอกโบตั๋นมาก สมัยนั้นโบตั๋นยังมีแพร่หลายในเมืองฉางอาน เมืองหลวงของจีนในสมัยนั้น หรือซีอานในปัจจุบัน วันหนึ่งในฤดูหนาว พระนางบูเช็คเทียน เกิดอยากชมดอกไม้ขึ้นมา จึงออกคำสั่งให้ดอกไม้บานโดยพร้อมเพรียงกัน มีแค่ดอกโบตั๋นเท่านั้น ที่ไม่ยอมบาน เนื่องจากเห็นว่าไม่ถึงฤดูกาล เมื่อดอกโบตั๋นไม่ยอมบาน พระนางฯ ก็โกรธมาก สั่งเผาอุทยาน แล้วให้ถอนรากถอนโคนดอกโบตั๋น เอาไปทิ้งที่เขาเป่ยหมาง ในเมืองลั่วหยาง แต่ไม่คิดว่าโบตั๋นจะปลูกได้ดีที่นี่ ลั่วหยางก็เลยกลายเป็นแหล่งเพาะปลูกโบตั๋นที่สำคัญไป และจากสาเหตุที่โดนเผา จึงกลายเป็นที่มาว่าทำไมต้นโบตั๋นจึงแห้งและมีสีเข้มเหมือนถูกไฟเผา
สำหรับชื่อ "โบตั๋น" ในภาษาไทยนั้น มาจากชื่อดอกไม้นี้ในภาษาญี่ปุ่นว่า "โบะตัง" แต่บางคนก็ว่า มาจากชื่อในภาษาจีนว่า "หมู่ตัน" ส่วนในภาษาอังกฤษเรียกว่า "peony" โดยมีตำนานเล่าว่า ตั้งตามชื่อของไพอัน (Paean) ศิษย์คนหนึ่งของเอสเคลปิอัส เทพเจ้าแห่งการแพทย์ของกรีกโบราณ ต่อมาเอสเคลปิอัสอิจฉาลูกศิษย์ของตน เทพเซอุสช่วยไพอันให้พ้นภัยโดยสาปให้กลายร่างเป็นดอกโบตั๋น
ในสมัยโบราณ ดอกโบตั๋นเป็นที่นิยมเพาะเลี้ยงกันในหมู่ชนชั้นสูง ซึ่งบางครั้งราคาประมูลขายกันแพงมาก จนสุดยอดกวีราชวงศ์ถังท่านหนึ่ง ชื่อ ไป๋จวีอี้ กล่าวไว้ว่า "อี้ฉงเซินเซ่อฮวา สือฮุจงเหรินฝู้" ซึ่งหมายความว่า โบตั๋นเพียงไม่กี่ดอกยังมีมูลค่ามากกว่าเงินภาษีของชนชั้นกลางสิบคนเสียอีก
ทั้งนี้ มีเรื่องเล่ากันว่าสมัยพระนางบูเช็คเทียน พระองค์เคยโปรดดอกโบตั๋นมาก สมัยนั้นโบตั๋นยังมีแพร่หลายในเมืองฉางอาน เมืองหลวงของจีนในสมัยนั้น หรือซีอานในปัจจุบัน วันหนึ่งในฤดูหนาว พระนางบูเช็คเทียน เกิดอยากชมดอกไม้ขึ้นมา จึงออกคำสั่งให้ดอกไม้บานโดยพร้อมเพรียงกัน มีแค่ดอกโบตั๋นเท่านั้น ที่ไม่ยอมบาน เนื่องจากเห็นว่าไม่ถึงฤดูกาล เมื่อดอกโบตั๋นไม่ยอมบาน พระนางฯ ก็โกรธมาก สั่งเผาอุทยาน แล้วให้ถอนรากถอนโคนดอกโบตั๋น เอาไปทิ้งที่เขาเป่ยหมาง ในเมืองลั่วหยาง แต่ไม่คิดว่าโบตั๋นจะปลูกได้ดีที่นี่ ลั่วหยางก็เลยกลายเป็นแหล่งเพาะปลูกโบตั๋นที่สำคัญไป และจากสาเหตุที่โดนเผา จึงกลายเป็นที่มาว่าทำไมต้นโบตั๋นจึงแห้งและมีสีเข้มเหมือนถูกไฟเผา
สัญลักษณ์และการใช้
ดอกโบตั๋นเป็นดอกไม้ที่นิยมใช้ในงานศิลปะมายาวนาน และเป็นหนึ่งในสัญลักษณ์ประจำชาติของจีน คนจีนยกให้เป็นดอกไม้ของจักรพรรดิ ถือเป็นดอกไม้แห่งเกียรติยศและความร่ำรวย กับนิยมใช้ในเชิงสัญลักษณ์ในศิลปะจีนอีกด้วย โดยเมื่อ ค.ศ. 1903 ราชวงศ์ชิงประกาศให้โบตั๋นเป็นดอกไม้ประจำชาติ ปัจจุบันนี้ไต้หวันใช้ดอกเหมยเป็นดอกไม้ประจำชาติ ขณะที่สาธารณรัฐประชาชนจีนไม่ได้ใช้เป็นดอกไม้ประจำชาติตามกฎหมายอีกแล้ว และต่อมาเมื่อปี ค.ศ. 1994 มีการเสนอให้ใช้ดอกโบตั๋นเป็นดอกไม้ประจำชาติอีก โดยการทำประชามติ แต่ก็ไม่ได้รับการยอมรับ กระทั่ง ค.ศ. 2003 มีการเสนอเรื่องดังกล่าวอีกครึ่งหนึ่ง และยังไม่มีการเลือกใช้ดอกโบตั๋นอีกเช่นกัน
ทั้งนี้ เมืองลั่วหยาง เมืองหลวงเก่าของจีน มีชื่อเสียงในฐานะศูนย์กลางการปลูกดอกโบตั๋นที่สำคัญแห่งหนึ่ง ในประวัติศาสตร์จีน มักจะยกย่องโบตั๋นจากลั่วหยางว่างดงามที่สุดในแผ่นดิน ปัจจุบัน มีการจัดนิทรรศการและการแสดงดอกโบตั๋นในเมืองนี้ในช่วงเดือนเมษายนของทุกปี จัดกันเต็ม ๆ 1 เดือน มีนักท่องเที่ยวทั้งชาวจีน ทั้งชาวต่างชาติ มาชมเทศกาลนี้ถึงกว่าล้านคนทีเดียว
ขณะที่ในประเทศญี่ปุ่น ดอกโบตั๋นชนิด Paeonia lactiflora เรียกเป็นภาษาญี่ปุ่นว่า ebisugusuri แปลว่า ยาจากต่างแดน ตามตำรับยาของญี่ปุ่น ถือว่ารากโบตั๋นใช้รักษาอาการชักได้ นอกจากนี้ยังปลูกเป็นไม้ดอกไม้ประดับ โบตั๋นชนิด Paeonia suffruticosa ในญี่ปุ่น ถือว่าเป็น "ราชาแห่งดอกไม้" และชนิด Paeonia lactiflora ถือว่า เป็น นายกรัฐมนตรีแห่งดอกไม้
ส่วนในรัฐอินเดียนา ของสหรัฐอเมริกา ใช้ดอกโบตั๋นเป็นดอกไม้ประจำรัฐมาตั้งแต่ ค.ศ. 1957 โดยใช้แทนดอก zinnia ที่เคยใช้เป็นดอกไม้ประจำรัฐมาตั้งแต่ ค.ศ. 1931
ดอกโบตั๋นเป็นดอกไม้ที่นิยมใช้ในงานศิลปะมายาวนาน และเป็นหนึ่งในสัญลักษณ์ประจำชาติของจีน คนจีนยกให้เป็นดอกไม้ของจักรพรรดิ ถือเป็นดอกไม้แห่งเกียรติยศและความร่ำรวย กับนิยมใช้ในเชิงสัญลักษณ์ในศิลปะจีนอีกด้วย โดยเมื่อ ค.ศ. 1903 ราชวงศ์ชิงประกาศให้โบตั๋นเป็นดอกไม้ประจำชาติ ปัจจุบันนี้ไต้หวันใช้ดอกเหมยเป็นดอกไม้ประจำชาติ ขณะที่สาธารณรัฐประชาชนจีนไม่ได้ใช้เป็นดอกไม้ประจำชาติตามกฎหมายอีกแล้ว และต่อมาเมื่อปี ค.ศ. 1994 มีการเสนอให้ใช้ดอกโบตั๋นเป็นดอกไม้ประจำชาติอีก โดยการทำประชามติ แต่ก็ไม่ได้รับการยอมรับ กระทั่ง ค.ศ. 2003 มีการเสนอเรื่องดังกล่าวอีกครึ่งหนึ่ง และยังไม่มีการเลือกใช้ดอกโบตั๋นอีกเช่นกัน
ทั้งนี้ เมืองลั่วหยาง เมืองหลวงเก่าของจีน มีชื่อเสียงในฐานะศูนย์กลางการปลูกดอกโบตั๋นที่สำคัญแห่งหนึ่ง ในประวัติศาสตร์จีน มักจะยกย่องโบตั๋นจากลั่วหยางว่างดงามที่สุดในแผ่นดิน ปัจจุบัน มีการจัดนิทรรศการและการแสดงดอกโบตั๋นในเมืองนี้ในช่วงเดือนเมษายนของทุกปี จัดกันเต็ม ๆ 1 เดือน มีนักท่องเที่ยวทั้งชาวจีน ทั้งชาวต่างชาติ มาชมเทศกาลนี้ถึงกว่าล้านคนทีเดียว
ขณะที่ในประเทศญี่ปุ่น ดอกโบตั๋นชนิด Paeonia lactiflora เรียกเป็นภาษาญี่ปุ่นว่า ebisugusuri แปลว่า ยาจากต่างแดน ตามตำรับยาของญี่ปุ่น ถือว่ารากโบตั๋นใช้รักษาอาการชักได้ นอกจากนี้ยังปลูกเป็นไม้ดอกไม้ประดับ โบตั๋นชนิด Paeonia suffruticosa ในญี่ปุ่น ถือว่าเป็น "ราชาแห่งดอกไม้" และชนิด Paeonia lactiflora ถือว่า เป็น นายกรัฐมนตรีแห่งดอกไม้
ส่วนในรัฐอินเดียนา ของสหรัฐอเมริกา ใช้ดอกโบตั๋นเป็นดอกไม้ประจำรัฐมาตั้งแต่ ค.ศ. 1957 โดยใช้แทนดอก zinnia ที่เคยใช้เป็นดอกไม้ประจำรัฐมาตั้งแต่ ค.ศ. 1931
สรรพคุณทางยา
แรกเริ่มเดิมทีนั้น ดอกโบตั๋นยังรู้จักกันไม่แพร่หลายนัก แค่ชาวจีนรู้กันว่าสามารถนำมาทำยาได้ ทั้งนี้ รากของดอกโบตั๋น สามารถใช้ทำเป็นยารักษาโรคระดูผิดปกติในผู้หญิง โรคหืด โรคชักได้ และสารสกัดจากดอกโบตั๋นยังมีสรรพคุณในการช่วยบำรุงดูแลให้ผิวชุ่มชื่น เปล่งปลั่งและเมื่อนำมาผสมผสานสารสกัดจากมะละกอ และผลเบอร์รี่จากแคริบเบียน จึงออกมาเป็นผลิตภัณฑ์ดูแลผิวรอบดวงตา Eye Off Shade เจลใสที่ช่วยแก้ไขปัญหารอยคล้ำรอบดวงตา ช่วยให้ผิวรอบดวงตาคุณสดชื่น เปล่งปลั่ง
แรกเริ่มเดิมทีนั้น ดอกโบตั๋นยังรู้จักกันไม่แพร่หลายนัก แค่ชาวจีนรู้กันว่าสามารถนำมาทำยาได้ ทั้งนี้ รากของดอกโบตั๋น สามารถใช้ทำเป็นยารักษาโรคระดูผิดปกติในผู้หญิง โรคหืด โรคชักได้ และสารสกัดจากดอกโบตั๋นยังมีสรรพคุณในการช่วยบำรุงดูแลให้ผิวชุ่มชื่น เปล่งปลั่งและเมื่อนำมาผสมผสานสารสกัดจากมะละกอ และผลเบอร์รี่จากแคริบเบียน จึงออกมาเป็นผลิตภัณฑ์ดูแลผิวรอบดวงตา Eye Off Shade เจลใสที่ช่วยแก้ไขปัญหารอยคล้ำรอบดวงตา ช่วยให้ผิวรอบดวงตาคุณสดชื่น เปล่งปลั่ง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น